อาหารติดคอลูกน้อย เตรียมพร้อมรับมือ เพื่อความปลอดภัย การเสียชีวิต จากอาหารติดคอ ภาวะทางเดินหายใจอุดกั้น หรือ อาหารอุดกั้น อาหารติดคอ ภาษาคนทั่วไปพูดกัน จากสิ่งแปลกปลอม (choking) เป็นสาเหตุหนึ่งที่พบบ่อยในเด็กเล็ก เพราะฉะนั้น การเตรียมความพร้อม ความเข้าใจในเรื่องอาหารอุดกั้นหลอดลม เป็นสิ่งสำคัญที่ พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ไม่ควรละเลย และต้องใส่ใจเป็นพิเศษ เพื่อการช่วยเหลือได้ทันท่วงที เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด เด็ก ๆ ลูก ๆ หลาน ๆ จะได้ปลอดภัย

การสังเกต อาการเตือนเมื่อลูกของเรา อาหารติดคอลูกน้อย
- มีอาการสำลัก หรือ อาการไอที่รุนแรงและต่อเนื่อง
- หายใจไม่ออกหรือหายใจเสียงดัง เหมือนคนเป็นโรคหอบหืด
- พูดไม่มีเสียงออกมาหรือพูดได้ลำบาก
- หายใจเร็วผิดปกติ

วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อลูกอาหารติดคอ
1.การช่วยเหลือเบื้องต้น ถ้าสังเกต ตามหัวข้อข้างต้น ลูกมีอาการ ให้รีบช่วยเหลือเบื้องต้น โดยใช้วิธีจับเด็กนอนคว่ำ นำลูกมาแนบที่ตัว แล้วตบแรง ๆ บริเวณด้านหลังที่ตรงกับทรวงอก ระหว่างกระดูกสะบัก การตบให้ใช้สันมือตบ การตบ คือกระแทกสันมือไปทางหัวของลูก กระแทกขึ้น จนกว่าจะมีอาหารที่อุดกั้นออกมา ให้ตบสลับกับตะแคงดูว่ามีอาหารออกมาทางช่องปากหรือยัง ถ้ายังให้ทำต่อไป เรื่อย ๆ จนกว่าจะออก
2. ในกรณีที่ช่วยเหลือตามข้อหนึ่งแล้ว อาหารไม่ออก ริมฝีปากเริ่มเขียว ถือเป็นภาวะฉุกเฉิน เป็นภัยคุกคามชีวิต และทำให้เสียชีวิตได้ภายในไม่กี่วินาที ควรรีบให้การช่วยเหลือ แบบ Heimlich โดยให้ลูกนั่งหรือยืนโน้มตัวไปทางด้านหน้าเล็กน้อย คุณแม่หรือผู้ปกครองยืนทางด้านหลัง ใช้แขนสองข้างอาบที่ตัวลูก กำมือวางไว้ที่ใต้ลิ้นปี่ ดันมือลงตรงตำแหน่งลิ้นปี่ อย่างรวดเร็ว เพื่อให้เกิดแรงดันในช่องท้องดันให้อาหารหลุดออกมา
3. สิ่งที่สำคัญที่สุดเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉินกับลูกน้อย คุณแม่จะต้องตั้งสติให้ดีและรีบเข้าช่วยเหลือลูกให้เร็วที่สุด เพราะเวลาเป็นสิ่งสำคัญมาก ทำตามสเตปที่ได้ศึกษามา ทำให้ถูกวิธี และ เร็วที่สุด เพราะหากสมองของลูกน้อยขาด ออกซิเจนเพียง 4 นาที อาจทำให้กลายเป็นเจ้าหญิง หรือ เจ้าชายนิทราตลอดไปได้

การป้องกันไม่ให้อาหารติดคอลูก
1.เก็บอาหาร ของเล่น ชิ้นเล็กชิ้นน้อยที่ลูกสามารถนำเข้าปากได้ไว้ให้ใกล้มือ เรื่องนี้เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะเด็กเล็กจะชอบเอาอะไรเข้าปากโดยที่ แม่ หรือผู้ปกครองไม่ทันได้สังเกต เป็นการป้องกันที่ดีถ้าเราใส่ใจเรื่องการเก็บ ของเล่นและอาหารเหล้านี้ได้
2.สำหรับเด็กที่มีฟันแล้วสามารถทานอาหารเองได้ พอแม่ควรสอนให้ลูกกินช้า ๆ เคี้ยวให้ละเอียดก่อนกลืน อาหาร ขนมที่ ส่วนใหญ่ที่ติดคอลูก จะมีขนาดที่ใหญ่ กว่าหลอดอาหาร หรือ ระหว่างทานอาหาร ลูกไม่นั่งทาน มีการเดิน วิ่ง หัวเรา หรือ พูดขณะมีอาหารอยู่ในปาก ทำให้สำลักอาหารลงหลอดลมได้ พ่อแม่ ผู้ปกครองจะต้องสอนและให้นั่งทาน เพื่อความปลอดภัย
3.ไม่ควรให้เด็กเล็กกินอาหารที่มีลักษณะเป็นเส้น กลม ลื่นและแข็ง เช่นลูกชิ้นเป็นลูก ไส้กรอก รวมไปถึงปลาที่มีกาง เนื้อสัตว์ที่ติดกระดูก และผลไม้ที่มีขนาดกลมเล็ก เช่นองุ่น ควรนำเม็ดออกแล้วตัดแบ่งเป็นคำเล็ก ๆ พอดีคำที่เด็กสามารถเคี้ยวได้ เนื่องจากเม็ดของผลไม้มีความลื่น และ มีโอกาสหลุดเข้าหลอดลมได้ง่าย

จากข้อมูลเบื้องต้น พ่อแม่ควรศึกษาไว้เพื่อ เกิดเหตุการณ์ขึ้นมาจะได้ช่วยลูกน้อยได้ทัน และควรปฏิบัติตามข้อแนะนำการป้องกันอย่างเคร่งคัด เพื่อไม่ให้เกิดภัยคุกคามชีวิตลูกน้อยของเรา ป้องกันไว้ดีกว่าแก้ แต่เมื่อเกิดแล้วรู้วิธีแก้ ดีกว่าไม่รู้อะไรเลย รักลูกศึกษาไว้นะคะ