วิธีรับมือกับเด็กวัยทอง

วิธีรับมือกับเด็กวัยทอง 1 – 3 ขวบด้วยเหตุผล

          การเลี้ยงดูเป็นปัจจัยหนึ่งที่ต้องบอกว่าส่งผลกับเด็กเป็นอย่างมาก ถ้าหากเลี้ยงให้อยู่ในกรอบมากเกินไป ก็จะทำให้เด็กเกิดความตึงเครียด แต่ถ้าเลี้ยงหย่อนเกินไปเด็กก็จะกลายเป็นคนเอาแต่ใจ โดยเฉพาะเด็กที่อยู่ในวัยเริ่มเรียนรู้ก็จะค่อนข้างหาจุดสนใจ เพราะฉะนั้นพ่อแม่จึงควรหา วิธีรับมือกับเด็กวัยทอง 1 – 3 ขวบด้วยเหตุผล เพื่อการอยู่ร่วมกันด้วยความเข้าใจ ซึ่งพ่อแม่ที่รักลูกจริงก็จะต้องมีกฎเกณฑ์ในการใช้ชีวิต และไม่ปล่อยให้เติบโตไปเป็นปัญหาของสังคม

วิธีรับมือกับเด็กวัยทอง

เด็กวัยทองเริ่มเมื่อไหร่ ?

          หลายคนน่าจะเคยได้ยินเรื่อง วัยทอง ของผู้หญิงที่เริ่มมีอายุมากแล้วก็จะเริ่มหงุดหงิด ไม่ถูกใจอะไรหลายอย่างที่พบเจอ แต่นอกจากผู้ใหญ่ก็ยังมี เด็กวัยทอง ด้วยเหมือนกัน โดยพ่อแม่ส่วนใหญ่ที่มีลูกเล็กน่าจะคุ้นชินกับคำว่า วัยทองสองขวบ อะไรทำนองนั้นมาบ้าง ซึ่งการแสดงออกที่เห็นง่ายที่สุดก็คือ การร้องไห้ เพราะเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 9 เดือนขึ้นไป เรียนรู้มาตั้งแต่ยังเล็กว่าเมื่อไหร่ที่มี การร้องไห้ เกิดขึ้น พ่อแม่จะต้องเอาอกเอาใจ เช่น การร้องขอนมที่ได้กินตั้งแต่เล็ก เมื่อโตขึ้นก็กลายเป็นพฤติกรรมต่อเนื่อง หากถูกขัดใจเป็นได้ ร้องไห้ ขึ้นมาทันที โดยไม่ต้องรู้สึกว่าตอนนี้เจอความเจ็บปวดจึง ร้องไห้ แค่รู้สึกเพียงว่าอยากได้ในสิ่งที่ต้องการก็พอ และเด็กวัยนี้จะมีความฉลาดมาก เพราะตัวเด็กจะลองทุกวิถีทาง เพื่อให้พ่อแม่สนองความต้องการ ยิ่งเด็กคนไหนพูดต่อรองเก่ง ๆ พ่อแม่ก็ไปไหนไม่รอด สุดท้ายแล้วก็ต้องยอมลูกอยู่ดี

ตัวอย่างการรับมือเด็กวัย 1- 3 ปี

          ช่วงวัยแห่งการเรียนรู้มักจะแฝงไปด้วยความเอาแต่ใจของเด็กเสมอ หากมีการเลี้ยงที่ตามใจเกินไปก็จะทำให้เด็กเกิดความไม่น่ารักดังนั้น พ่อแม่จึงต้องมี การรับมือเด็กวัย 1- 3 ปี อย่างมีเหตุผล และใช้คำพูดร่วมกับการกระทำเพื่อให้ลูกจำในสิ่งที่สอนได้ ที่สำคัญพ่อแม่ต้องเข้าใจพฤติกรรมของลูกด้วยว่ามีนิสัยแบบไหน ซึ่งอาจดูจากด้านต่าง ๆ เช่น

          1. เมื่อเริ่มปีนป่ายได้มากขึ้น ชอบรื้อข้าวของอยู่บ่อย ๆ ซึ่งการรื้อค้นนั้นพ่อแม่ควรปล่อยให้ลูกรื้อไป เพราะสามารถสอนลูกไปในตัวได้ด้วย เช่น การถาม – ตอบว่าสิ่งนี้เป็นของใคร หรือไม่ก็สอนให้เก็บของในที่ที่ถูกต้อง และบางครั้งหากลูกไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการแล้ว ร้องไห้ เพื่อเรียกร้องความสนใจ พ่อแม่จะต้องพิจารณาดูว่าสิ่งนั้น สามารถให้ได้ในทันที หรือว่าจะต้องให้ลูกอดทนรอไปอีกสักหน่อย

          2. การหยิบจับสิ่งของมีความถนัดมากขึ้น พ่อแม่จึงควรสอนให้ช่วยเหลือตัวเองอย่างง่าย ๆ ก่อน อย่างการกินข้าวเองที่ถึงแม้จะหกไปบ้างก็ถือเป็นการฝึก ถ้าลูกเอาแต่ใจไม่ยอมกินข้าว พ่อแม่ก็ต้องหาวิธีมาช่วยหลอกล่อ เช่น การนำตุ๊กตามานั่งเป็นเพื่อนแล้วสลับกันป้อน ก็น่าจะช่วยให้ลูกกินข้าวได้เยอะขึ้น

          3. เริ่มมีความอยากรู้อยากเห็นมากขึ้น พลังงานในร่างกายเยอะขึ้น ก็จะทำให้ซนขึ้นกว่าเดิมเยอะมาก ๆ และอาจเกิดการไม่เชื่อฟัง เพราะอยากไปวิ่งเล่น พ่อแม่ก็ควรปล่อยให้วิ่งให้เต็มที่ โดยมีเงื่อนไขเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อให้ลูกรู้ว่าการทำอะไรก็ตามต้องมีกฎระเบียบ ถ้าหากฝ่าฝืนก็ต้องมีการลงโทษกันบ้าง

          4. การพูดทั้งวันอาจทำให้พ่อแม่บางคนเกิดความรำคาญ และเด็กบางคนก็อาจจะไม่เข้าใจหากพ่อแม่ห้ามไม่ให้พูด ดังนั้น พ่อแม่ควรอดทนฟังจะได้รู้ว่าในตอนนี้ลูกรู้สึกยังไง หากมีเรื่องไม่สบายใจจะได้กล้าพูด หรือถ้าไม่อยากฟังให้หากิจกรรมอื่นทำร่วมกัน เช่น การร้องเพลง

          5. เด็กวัยนี้ค่อนข้างปฏิเสธในสิ่งที่พ่อแม่บอกเสมอ พ่อแม่จึงควรหาทางใช้คำพูดที่ออกแนวขอร้องมากกว่าการใช้คำสั่ง เช่น ช่วยรดน้ำต้นไม้หน่อยได้ไหมครับ แทนคำสั่งที่ว่า ไปรดน้ำต้นไม้เดี๋ยวนี้ เพราะลูกจะเรียนรู้ได้ว่าตัวเองสำคัญ และเต็มใจในการทำจากคำพูดแบบแรกมากกว่า

แชร์บทความนี้
Scroll to Top