เสริมพัฒนาการเด็ก

เสริมพัฒนาการเด็ก วัยแรกเกิดถึง 12 เดือน

เมื่อเจ้าตัวน้อยลืมตาดูโลก ก็คงไม่ใช่เรื่องแปลกที่คนเป็นพ่อเป็นแม่จะชื่นชมยินดี ยิ่งเวลาผ่านไปการได้เห็นลูกน้อยเจริญเติบโตก็เป็นความรู้สึกที่อยากจะเฝ้ามองต่อไปเรื่อย ๆ แต่สำหรับพ่อแม่มือใหม่ที่อายุยังน้อย หรือเพิ่งเคยมีลูกเป็นครั้งแรก ก็อาจจะยังไม่เข้าใจว่า วิธีการส่ง เสริมพัฒนาการเด็ก วัยแรกเกิดถึง 12 เดือน นั้นมันมีความแตกต่างกันยังไง เดี๋ยวเราจะมาลองดูไปพร้อม ๆ กัน พัฒนาการเด็ก

เสริมพัฒนาการเด็ก วัยแรกเกิดถึง 12 เดือน

วัยแรกเกิด – 1 เดือน

          วัยแรกเกิด – 1 เดือน จะเริ่มมองหน้า, สบสายตา, ตอบสนองต่อเสียงที่ได้ยิน, เคลื่อนไหวแขนขาได้ โดยเด็กในช่วงวัยนี้พ่อแม่ควรพูดคุยเพื่อให้ลูกจำเสียง หรือสัมผัสบ่อย ๆ เช่น การอุ้ม, การจับแขนขายกขึ้นยกลง เพื่อออกกำลังกายแบบน้อย ๆ เพื่อให้คุ้นชินกับร่างกายพ่อแม่ และสามารถ ส่งเสริมพัฒนาการด้วยของเล่นนิ่ม ๆ เช่น ตุ๊กตาผ้า

วัย 1 – 2 เดือน

          วัย 1 – 2 เดือน เป็นวัยที่เริ่มยิ้มตอบคน, มีการแสดงความรู้สึก, สนใจในเสียงที่ได้ยิน, มองตาม และเริ่มชันคอในท่าคว่ำได้ ซึ่งพ่อแม่ก็ควรให้ความใกล้ชิดกับลูกไม่ต่างจากช่วงเดือนแรก โดยพยายามพูดคุยให้ได้ยินเสียง หรือหา ของเล่นเสริมพัฒนาการ เช่น โมบายแบบแขวน ไว้ใกล้ ๆ สายตาเพื่อให้มองตามการเคลื่อนไหว

วัย 3 – 4 เดือน

          วัย 3 – 4 เดือน เป็นวัยที่รู้เรื่องขึ้นมาอีกหน่อย เพราะจะเริ่มยิ้มแล้วส่งเสียงเรียกคน พร้อมกับมองตามได้ไกลมากขึ้น และสามารถชันคอในท่าคว่ำได้โดยใช้แขนยัน ในช่วงวัยนี้พ่อแม่ควรพูดคุยด้วยบ่อย ๆ และเริ่มเรียกชื่อลูก นอกจากนี้พ่อแม่สามารถใช้ ของเล่นเสริมพัฒนาการ อย่างพวก ลูกบอลที่มีกระดิ่ง หรือ ลูกบอลมีเสียง เปลี่ยนที่ไปเรื่อย ๆ เพื่อให้ลูกมองตามได้

วัย 5 – 6 เดือน

          วัย 5 – 6 เดือน จะสามารถแสดงออกได้ทั้งท่าทาง และความรู้สึก ที่สำคัญเด็กช่วงวัยนี้จะจำหน้าพ่อแม่ได้ หากพ่อแม่เรียกชื่อก็จะหันตามเสียงเรียก สามารถคืบ, พลิกตัว, ถือของได้ ซึ่งพ่อแม่ควรส่งเสริมด้วยการเปลี่ยนทิศทางในการเรียกชื่อ เพื่อให้ลูกสามารถหันไปยังทิศทางนั้น ๆ ได้ ส่วน ของเล่นเสริมพัฒนาการ เริ่มให้เล่นแบบ ของเล่นแบบยางกัด ได้แต่ต้องมีขนาดใหญ่กว่าปาก

วัย 7 – 8 เดือน

          วัย 7 – 8 เดือน เนื่องจากเด็กวัยนี้จำหน้าพ่อแม่ได้แล้ว ก็จะทำให้เด็กเริ่มกลัวคนแปลกหน้าที่ไม่รู้จัก แล้วก็จะติดคนเลี้ยงมากไม่ว่าคนนั้นจะเป็นใคร เพราะเด็กรู้สึกผูกพันแล้วก็อยากให้อุ้มตลอดเวลา และจะเริ่มพูดเป็นคำสั้น ๆ พยางค์เดียว สามารถนั่งเองได้โดยไม่ต้องพยุง ส่วนการทำให้เด็กไม่กลัวคนสามารถทำได้ โดยที่พ่อแม่จะต้องพาไปเจอผู้คนภายนอกบ้าง และสามารถ ส่งเสริมพัฒนาการด้านของเล่น ได้ด้วยการให้เล่นที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เช่น ตุ๊กตามีเสียง, หนังสือผ้า เน้นไปที่สีสันสดใส

วัย 9 – 10 เดือน

          วัย 9 – 10 เดือน สามารถบอกความต้องการของตัวเอง และเข้าใจในสิ่งที่พ่อแม่พูดผ่านท่าทาง เริ่มพูดคำสองพยางค์ได้ ด้านร่างกายเด็กจะค่อย ๆ ทรงตัวหาที่เกาะเพื่อยืน ข้อควรระวังของเด็กวัยนี้ คือ การถือของด้วยตัวเอง เพราะฉะนั้นอะไรที่เป็นชิ้นเล็ก ๆ ที่เด็กสามารถเอาเข้าปากได้ควรเลี่ยง ซึ่งพ่อแม่ควรส่งเสริมกล้ามเนื้อด้วยการปล่อยให้ลองหยิบอาหารเอง และต้องระวังอันตรายต่าง ๆ อย่างมุมโต๊ะ หรือปลั๊กไฟที่เด็กอาจเอามือไปแหย่ได้ หากพอมีกำลังทรัพย์สามารถหา คอกกั้น เพื่อให้ลูกหัดเกาะยืนได้จะดีมาก

วัย 11 – 12 เดือน

          วัย 11 – 12 เดือน เป็นวัยที่เริ่มลอกเลียนแบบ หรือทำตามในสิ่งที่ผู้ใหญ่บอกได้ทั้งการโบกมือ, การปรบมือ หรือว่าการเต้น รวมไปถึงการยืนในระยะสั้น ๆ ซึ่งพ่อแม่ควรให้การดูแลอย่างใกล้ชิด และต้องสอนในสิ่งที่ถูกต้อง เพราะเด็กวัยนี้จะจำได้ค่อนข้างดี ส่วน ของเล่นเสริมพัฒนาการ สามารถใช้ สายพยุง เพื่อเป็นการฝึกให้เด็กค่อย ๆ เรียนรู้ในการก้าวเดินอย่างมั่นคงต่อไป

แชร์บทความนี้
Scroll to Top