รู้เท่าทันภาวะครรภ์เป็นพิษพร้อมวิธีรับมือ

รู้เท่าทันภาวะครรภ์เป็นพิษพร้อมวิธีรับมือ

การประคับประคองดูแลร่างกาย และจิตใจให้พร้อมสำหรับการต้อนรับเจ้าตัวเล็ก เป็นเรื่องที่ต้องใช้ความอดทนสูงมาก ไม่ว่ากิจกรรมใดที่เคยชอบทำเป็นประจำ แต่เมื่อทำแล้วรู้สึกว่าจะกระทบกับลูก คุณแม่ตั้งครรภ์ ก็จะหยุดเรื่องเหล่านั้นทันที แต่ถึงการดูแลจะดีแค่ไหนถ้าหาก คุณแม่ เกิด ภาวะครรภ์เป็นพิษ ขึ้นมาแล้วก็อย่าเพิ่งกังวลจนเกินไป เพราะเราจะแนะนำเรื่อง รู้เท่าทันภาวะครรภ์เป็นพิษพร้อมวิธีรับมือ เพื่อให้ คุณแม่ คลายความวิตกที่อาจเกิดกับลูกน้อย

รู้เท่าทันภาวะครรภ์เป็นพิษพร้อมวิธีรับมือ

ความหมายของภาวะครรภ์เป็นพิษ

          คู่แต่งงานใหม่อาจเคยได้ยินเรื่อง ภาวะครรภ์เป็นพิษ มาบ้างแล้วไม่มากก็น้อย เพราะคู่รักในสมัยนี้มักจะเตรียมความพร้อมก่อนมีลูกอยู่แล้ว แต่บางคนที่เคยได้ยินก็อาจไม่ค่อยเข้าใจนักว่ามันคืออะไร โดย ความหมายของภาวะครรภ์เป็นพิษ ก็คือ การเกิดภาวะความดันโลหิตสูง > หรือ = 140 / 90 มิลลิเมตรปรอท บวกกับโปรตีนในปัสสาวะของ คุณแม่ ที่มีอายุครรภ์ > 20 สัปดาห์ – หลังคลอด 1 สัปดาห์ และภาวะนี้จะค่อย ๆ หายไปหลังคลอด

สาเหตุของภาวะครรภ์เป็นพิษ

          ในทางการแพทย์แล้ว สาเหตุของภาวะครรภ์เป็นพิษ ยังไม่แน่ชัดมากนัก แต่จากการสันนิษฐานอาจเกิดจากโปรตีนบางตัวที่ไม่สมดุลกัน จนทำให้ภูมิคุ้มกัน / ฮอร์โมนต่อมไร้ท่อ / หลอดเลือดผิดปกติ และไม่สามารถสร้างหลอดเลือดไปเลี้ยงรกได้เพียงพอ

6 ประเภทความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับคุณแม่ตั้งครรภ์

          คุณ แม่ตั้งครรภ์ ที่เคยตรวจเจอ ครรภ์เป็นพิษ มาก่อน

          – คุณแม่ตั้งครรภ์ ที่มีน้ำหนักมากเกินไป

          – คุณแม่ตั้งครรภ์ ที่มีโรคประจำตัวก่อน เช่น โรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง

          – คุณแม่ตั้งครรภ์แฝด

          – คุณแม่ตั้งครรภ์ อายุน้อยกว่า 18 ปี และมากกว่า 35 ปี

          – คุณแม่ตั้งครรภ์ครั้งแรก

อาการภาวะครรภ์เป็นพิษ

          การแสดงออกของ อาการภาวะครรภ์เป็นพิษ จะไม่แสดงอาการภายนอกให้เห็น แต่ถ้ามีการพบแพทย์อยู่เป็นประจำ ก็จะทำให้ทราบได้ว่าในตอนนี้มีความเสี่ยงที่จะเกิด ภาวะครรภ์เป็นพิษ หรือไม่ ทั้งนี้ คุณแม่ตั้งครรภ์ ที่มีอาการบวมน้ำ หรือมีความดันโลหิตสูงเล็กน้อยถือเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าสังเกตตัวเองแล้วมีเรื่องต่อไปนี้ ต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อหาทางในการรักษาทันที

          1. น้ำหนัก ถ้าน้ำหนักเพิ่ม > หรือ = 1 กิโลกรัม / สัปดาห์

          2. คลื่นไส้ / อาเจียน เยอะกว่าปกติ

          3. อาการบวม พบเห็นได้ชัดตามใบหน้า, มือ, ข้อเท้า, เท้า

          4. ปวดหัว กินยาแก้ปวดแล้วแต่ไม่บรรเทา

          5. สายตา มีอาการพร่ามัว – มองไม่เห็นชั่วขณะ

          6. แน่นหน้าอก รวมไปถึงลิ้นปี่

          7. ชักกระตุก เป็นขั้นรุนแรงที่สุดจนอาจเกิดเลือดออกในสมอง

          ส่วนในบางรายก็อาจเกิดโรคแทรกซ้อนกับทารก เช่น การเจริญเติบโตช้า, คลอดก่อนกำหนด, หัวใจเต้นช้า ไปจนถึงอาจทำให้ทารกเสียชีวิตในครรภ์

การรักษาภาวะครรภ์เป็นพิษ

          การรักษาภาวะครรภ์เป็นพิษ มีอยู่ 2 แบบ คือ

          1. ภาวะครรภ์เป็นพิษแบบไม่รุนแรง เป็นการรักษาโดยการเข้าพบแพทย์เพื่อประเมินอาการอย่างต่อเนื่อง และไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล เว้นแต่จะมีอาการอื่น ๆ เช่น แน่นหน้าอก

          2. ภาวะครรภ์เป็นพิษแบบรุนแรง ต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล เพราะแพทย์จะได้ประเมินอาการได้อย่างใกล้ชิด และได้จ่ายยาป้องกันหลอดเลือดในสมองแตก กับยาป้องกันการชัก บางรายที่อาการหนักอาจถึงกับต้อง ยุติการตั้งครรภ์

การป้องกันภาวะครรภ์เป็นพิษ

          การป้องกันภาวะครรภ์เป็นพิษ อาจจะยังไม่มีคำแนะนำที่ได้ผลชัดเจน มีเพียงวิธีที่จะช่วยได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องที่ คุณแม่ ควรปฏิบัติ ดังนี้

          1. รสชาติอาหาร ลดอาหารที่มีรสเค็มจัด ถ้างดได้เลยยิ่งดี

          2. ดื่มน้ำ อย่างน้อย 8 แก้ว / วัน เว้นแต่ คุณแม่ ที่ถูกจำกัดปริมาณน้ำ

          3. เสริมโปรตีน เช่น เนื้อสัตว์, ไข่, นม, ตับ และงดไขมันต่าง ๆ

          4. การนอน ควรจะพักผ่อนให้เพียงพอ

          5. ออกกำลังกาย ที่เป็นกิจกรรมเบา ๆ อย่างการเดิน หรือโยคะสำหรับคนท้อง

          6. ยกขาสูง เพื่อให้เลือดลมเดิน ซึ่งจะทำขณะที่นอนก็ได้

          7. งดแอลกอฮอล์ / คาเฟอีน เช่น ชา, กาแฟ

          8. ฝากครรภ์ และเข้าพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง และทำตามคำแนะนำ

แชร์บทความนี้
Scroll to Top