ความกังวลที่เกิดขึ้นกับ คุณแม่ตั้งครรภ์ เป็นเรื่องที่ไม่ได้ผิดปกติแต่อย่างใด เพราะไม่มีใครรู้ล่วงหน้าว่าอาการที่ต้องเจอมันมีอะไรบ้าง เพราะมันขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคน อย่างบางคนก็แทบไม่มีอาการปรากฎ ในขณะที่บางคนมีอาการแบบไม่ได้พัก นอกจากนี้ก็ยังมีเรื่องของ ภาวะคลอดยาก อีกหนึ่งเรื่องที่ คุณแม่ ควรต้องรู้ และเตรียมตัวให้พร้อมหากต้องเผชิญ
ลดความเสี่ยงภาวะคลอดยาก
ภาวะคลอดยากคืออะไร ?
ภาวะคลอดยาก หมายถึง การใช้เวลาคลอดที่นานกว่าปกติ ไม่ใช่การคลอดแบบธรรมชาติ เพราะจะต้องใช้เครื่องมือในการช่วยเหลือเพื่อนำเด็กออกมา โดยทางการแพทย์จะนับเวลาการเจ็บจากท้องแรก 20 ชั่วโมง ส่วนท้องที่สองเป็นต้นไปนับเวลา 12 ชั่วโมง หากภายในเวลาที่กำหนดนี้เด็กยังไม่คลอด ก็จะต้องมีการใช้เครื่องมือ เพราะหากปล่อยไว้นาน ๆ จะเป็นอันตรายต่อแม่และเด็ก ซึ่งปกติแล้วปากมดลูกต้องเปิดอย่างน้อย 1 เซนติเมตร / ชั่วโมง แต่ถ้าปากมดลูกเปิดถึง 1 เซนติเมตรแล้ว หัวเด็กยังไม่ลงต่ำมาอีกภายใน 3 ชั่วโมงของท้องแรก และนับจาก 1 ชั่วโมงครึ่งของท้องสองเป็นต้นไป แพทย์จะทำการผ่าตัดคลอดทันที ลดความเสี่ยงภาวะคลอดยาก
สาเหตุของภาวะคลอดยาก ลดความเสี่ยงภาวะคลอดยาก
สาเหตุของภาวะคลอดยาก มีหลายสาเหตุทั้งจากตัวแม่และตัวลูก หากเป็นสาเหตุที่มาจากแม่ก็อาจเกิดจากมดลูกหดรัดตัวน้อยกว่า หรือมากกว่าปกติ, เชิงกรานแคบ, ปัสสาวะเต็ม ทำให้ปากมดลูกไม่ขยาย หรือถ้าเกิดจากลูกก็เช่นทารกอยู่ในท่าขวาง, น้ำคร่ำน้อย นอกจากนี้ก็ยังมีเรื่องของ สุขภาพจิต และ สุขภาพกาย เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น คุณแม่ ที่มีโรคประจำตัวอย่างโรคหัวใจ หรือความดันโลหิตสูงเพราะความกังวลต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นก็มีผลจนทำให้เกิด ภาวะคลอดยาก ได้เช่นเดียวกัน
ทำอย่างไรเมื่อคุณแม่มีภาวะคลอดยาก ?
ทำอย่างไรเมื่อคุณแม่มีภาวะคลอดยาก ? สำหรับคำถามนี้แพทย์ให้คำตอบได้หลายทาง เพราะต้องผ่านการพิจารณาเป็นเคสไป คุณแม่ บางท่านก็อาจได้รับยาทางสายน้ำเกลือเพื่อให้มดลูกบีบรัดมากขึ้น คุณแม่ จะได้คลอดอย่างปลอดภัย หรือในบางเคสแพทย์อาจจะใช้เครื่องมือช่วย เช่น การใช้คีม สำหรับดึงเด็กในกรณีที่ปากมดลูกเปิดหมดแล้ว, การใช้เครื่องดูดสุญญากาศ เหมาะกับ คุณแม่ ที่หมดแรงเบ่งเอง โดยใช้เวลาดำเนินการภายใน 40 นาที แต่ทั้งนี้ก็ต้องดูความเหมาะสมในแต่ละเงื่อนไขด้วย เพราะไม่อย่างนั้นอาจทำให้เกิดอันตรายทั้งแม่และเด็ก
เทคนิคการคลอดให้ง่ายขึ้น
- ใช้กฎแรงโน้มถ่วง ในช่วงก่อนคลอด คุณแม่ ควรเตรียมคลายร่างกายให้พร้อม ด้วยการขยับร่างกาย เช่น การย่อตัวเล็กน้อย เพราะ กฎแรงโน้มถ่วง จะช่วยให้ทารกเคลื่อนไปอยู่ในตำแหน่งที่พร้อมคลอด
- นอนพักผ่อนให้เพียงพอ เพราะเมื่อถึงเวลาจะสามารถคลอดแบบธรรมชาติได้ง่ายขึ้น ดังนั้น การนอนของ คุณแม่ ต้องพยายามให้ได้ 7 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย จะได้ไม่เกิดแนวโน้มที่จะต้องผ่าคลอด
- อินทผาลัม เป็นตัวช่วยชั้นดีสำหรับ คุณแม่ เพราะสรรพคุณของมันจะช่วยให้ไม่ทรมานกับการคลอดมากนัก เนื่องจากใน อินทผาลัม มีสารช่วยกระตุ้นการหดตัวของมดลูก ซึ่ง คุณแม่ ควรกินในปริมาณที่พอดี
- ออกกําลังกาย เป็นสิ่งที่ควรทำแบบเบา ๆ ไม่หักโหม เพราะมันจะช่วยลดอาการเจ็บปวดได้ ซึ่งอาจจะเป็นการเดินทุก ๆ วัน หรือจะเล่นโยคะสำหรับคนท้องก็เข้าท่า เนื่องจากจะได้รับคำแนะนำที่ดี
- . อาบน้ำอุ่น เป็นการผ่อนคลายอย่างแท้จริง เพราะการนอนแช่น้ำอุ่นนิ่ง ๆ จะช่วยลดความเครียด และช่วยให้เลือดหมุนเวียนดีอีกด้วย แต่การแช่น้ำอุ่นจะต้องใช้อุณหภูมิที่เหมาะสม ไม่อย่างนั้นจะทำให้ผิวแห้ง
- การสัมผัส ไม่ต้องหาไกล เพราะการได้รับการปลอบโยนจากคู่ชีวิตเป็นสิ่งสำคัญที่สุด หากผู้ชายคนไหนทำความเข้าใจในเรื่องนี้ได้นับว่าได้คู่ชีวิตที่ดี
- การเตรียมตัว ขั้นตอนสุดท้ายก่อนที่จะเจอเจ้าตัวน้อย คุณแม่ จะต้องเตรียมตัวไว้เสมอ เพราะไม่อาจรู้ได้ว่าจะเจ็บท้องเวลาไหน ทางที่ดีจัดเตรียมสิ่งของที่จำเป็น หาคนใกล้ชิดสักคนที่พร้อมช่วยเหลือ และปล่อยใจให้สบาย เพียงเท่านี้ คุณแม่ ก็น่าจะลดความกังวลไปได้เยอะเลย