ถ้าพูดถึงความหมายของสี เราจะเห็นว่ามันให้ความรู้สึกที่ต่างกัน เช่น สีแดง หมายถึงความร้อนแรง, สีดำ หมายถึงความลึกลับน่าค้นหา หรือสีเหลืองที่หมายถึงความสดใส ซึ่งการเลือกใช้สีต่าง ๆ เหล่านี้สามารถบอกได้ถึงอารมณ์ของสิ่งที่จะสื่อ เนื่องด้วย เทศกาลวันแม่ ที่ใกล้เข้ามาทุกที ลูก ๆ ส่วนใหญ่ก็จะเริ่มมองหา ดอกมะลิ เพื่อนำไปไหว้แม่กันแล้ว และต้องบอกว่าราคาของ ดอกมะลิ ในช่วงนี้อาจพุ่งสูง เพราะมีความต้องการของตลาดมากกว่าช่วงอื่น ๆ ดอกมะลิสัญลักษณ์ประจำ วันแม่
แต่เคยสงสัยกันไหมว่า ทำไมจึงใช้ ดอกมะลิสัญลักษณ์ประจำ วันแม่? ทั้ง ๆ ที่มีดอกไม้สีสันสวยงามชนิดอื่นตั้งมากมาย ซึ่งคำตอบอาจแบ่งได้ ดังนี้ สีขาว หมายถึงความบริสุทธิ์เปรียบได้กับความรัก ความปรารถนาดี ส่วน ดอกมะลิ นับเป็นพันธุ์ไม้มงคลที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ และมีกลิ่นหอมยาวนาน เมื่อนำมารวมกันแล้วอาจเป็นการสื่อได้ถึงความกตัญญู ซึ่งลูก ๆ ก็มักจะนำ ดอกมะลิ มาไหว้แม่ในวันที่ 12 สิงหาคม ของทุกปี
เรามารู้จัก ดอกมะลิสัญลักษณ์ประจำ วันแม่ กันว่ามีกี่สายพันธ์ุ
ต้นกำเนิดวันแม่
ต้นกำเนิดวันแม่ จัดขึ้นครั้งแรก ณ สวนอัมพร ในวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2486 โดยกระทรวงสาธารณสุข และในปีต่อ ๆ มาก็ยังคงมีการจัดงานอยู่ แต่มีการเปลี่ยนวันไปเรื่อย ๆ แบบไม่แน่นอน จนเมื่อถึงปี พ.ศ. 2519 คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงกำหนด เทศกาลวันแม่ ให้เป็นวันที่ 12 สิงหาคม เนื่องจากยึดวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และกำหนดให้ ดอกมะลิ เป็นสัญลักษณ์ประจำวันแม่
ต้นกำเนิดของดอกมะลิ
ดอกมะลิ เป็นไม้พุ่มที่มีขนาดเล็ก ไปจนถึงขนาดกลาง เป็นพรรณไม้ยืนต้น มีถิ่นกำเนิดอยู่แถบเทือกเขาหิมาลัย หาได้ในแถบเอเชียใต้กับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วน ดอกมะลิ ในประเทศไทยถูกนำเข้ามาจากประเทศอินเดียตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ซึ่งมาพร้อมกับการเผยแผ่ศาสนาพุทธ
คุณสมบัติของดอกมะลิ
ซึ่ง คุณสมบัติของดอกมะลิ มีความหอม และมีสีขาวบริสุทธิ์ ทำให้คนนิยมนำไปบูชาพระ หรือไปใช้ในงานมงคลต่าง ๆ เช่น การสรงน้ำพระ, การรดน้ำขอพรผู้ใหญ่ หรือบางคนก็นิยมเป็นต้นปลูกภายในตัวบ้าน เพราะมันสามารถออกดอกแล้วส่งกลิ่นหอมได้ตลอดปี
สายพันธุ์ของดอกมะลิ
ลำต้นของ ดอกมะลิ จะมีลักษณะเล็ก และกลม มีการแตกกิ่งรอบๆ ลำต้น แตกใบเรียงกันเป็นคู่ ตามก้าน และกิ่ง ใบมีความมนป้อม โคนเรียว ปลายแหลม ขอบเรียบเป็นมัน อาจออกเป็นดอกเดี่ยว หรือออกเป็นช่อ ส่วนกลีบดอกจะมีสีขาวประมาณ 6 – 10 กลีบเรียงเป็นวงกลม หรือซ้อนกันเป็นชั้นตาม สายพันธุ์ของดอกมะลิ โดยแบ่งออกได้ 5 สายพันธุ์ คือ

มะลิลา หรือมะลิลาซ้อน ดอกออกเป็นช่อ มีแค่ 3 ดอก โดยดอกกลางจะบานก่อน กลีบดอกมีชั้นเดียว เป็นไม้รอเลื้อย ส่วนใบออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ใบเป็นรูปไข่ขอบเรียบ ปลายกลีบมน นิยมเด็ดดอกเพื่อนำไปขาย

มะลุลี/มะลิพวง มีลักษณะคล้ายกับแบบแรกเกือบทั้งหมด แต่ใบจะมีขนาดใหญ่กว่า ส่วนดอกมีลักษณะเป็นการซ้อนได้ 3 – 4 ชั้น ปลายกลีบมน

มะลิถอด ลักษณะทั่วไปเหมือนกับแบบแรก แต่ต่างกันตรงที่ใบจะเป็นคลื่น ส่วนดอกจะออกเป็นช่อละ 3 ดอก มีชั้นซ้อน 3 – 6 ชั้น มีกลิ่นหอมมาก

มะลิซ้อน มีลักษณะที่ค่อนไปทางแบบที่ 1 กับ 3 ส่วนใบจะออกแคบกว่า ออกดอกใหญ่เป็นช่อ 3 ดอก ส่วนกลีบดอกซ้อนเยอะกว่า 5 ชั้น แต่ละชั้นมีตั้งแต่ 10 กลีบ มีกลิ่นหอมมาก

มะลิพิกุล หรือ มะลิฉัตร มีลักษณะที่ไม่เหมือนกับ 4 ชนิดแรกเลย เนื่องจากมีขนาดดอกที่เล็ก ใบแคบแล้วมีลักษณะเป็นคลื่นเล็กน้อย ออกดอกเป็นช่อ 3 ดอก ซ้อนกันเป็นชั้น ๆ มีกลิ่นหอม
สรรพคุณของดอกมะลิ
นอกจากเราจะนำ ดอกมะลิ ไปไหว้ผู้มีพระคุณ หรือบูชาพระแล้ว ก็ยังมี สรรพคุณของดอกมะลิ ในแบบอื่น ๆ เช่น การใช้รากโดยการนำไปฝนกินกับน้ำแก้ร้อนใน, การใช้ใบรักษาอาการปวดท้อง, การนำดอกไปตำให้ละเอียดแก้อาการปวดหัว และปวดหูชั้นกลาง ฯลฯ