พัฒนาการที่ผิดปกติของลูก

พัฒนาการที่ผิดปกติของลูก วัย 2 – 18 เดือน ที่ต้องพบแพทย์

พัฒนาการที่ผิดปกติของลูก วัย 2 – 18 เดือน ที่ต้องพบแพทย์ พัฒนาการในแต่ละช่วงวัยของเด็ก อาจไม่ได้ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของเด็กเพียงอย่างเดียว เพราะบางครั้งมันก็มาจากปัจจัยภายนอก อย่างเช่น การเลี้ยงดูของบุคคลในครอบครัว โดยเฉพาะบ้านไหนที่พ่อแม่เลี้ยงลูกกับหน้าจอก็จะพบเห็นได้ชัดว่า ลูกจะไม่ค่อยสื่อสารกับคนอื่น ๆ แถมยังชอบเก็บตัวอยู่ในโลกที่มีแต่หน้าจอ เพราะเขาคิดว่านั่นเป็นสิ่งเดียวที่มีเวลาให้ โดยปัญหานี้อาจเกิดได้ในเด็กที่พอจะรู้เรื่องขึ้นมาบ้างแล้ว แต่สำหรับเด็กที่อายุน้อยกว่านี้อาจจะมองเห็นได้ไม่ชัดมาก ดังนั้น เราจะพาไปดูว่า พัฒนาการที่ผิดปกติของลูก วัย 2 – 18 เดือน ที่ต้องพบแพทย์ มีอะไรบ้าง

พัฒนาการที่ผิดปกติของลูก

พัฒนาการที่ผิดปกติของลูก วัย 2 – 18 เดือน

ปกติแล้วพัฒนาการของเด็กแต่ละคนจะไม่เท่ากัน เพราะฉะนั้นไม่ควรเอาลูกของตัวเองไปเปรียบเทียบกับใคร แต่ถ้าสังเกตแล้วว่าพัฒนาการในด้านนั้นช้าเกินไป ก็จะต้องพาไปพบแพทย์เพื่อประเมินอาการ ยิ่งรู้เร็วก็จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการให้ดีขึ้นได้ พ่อแม่จึงควรดูแลเอาใจใส่อยู่เสมอ ซึ่งอาการที่ควรสังเกตมีดังนี้

  1. ช่วงอายุ 2 เดือน แต่คอยังไม่แข็ง โดยทั่วไปแล้วเด็กจะเริ่มชันคอได้ด้วยตัวเอง แต่ถ้าพ่อแม่ยังต้องช่วยประคอง เพราะตัวเด็กไม่สามารถตั้งคอได้ ลักษณะอาการแบบนี้อาจจะเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้
  2. ช่วงอายุ 3 – 4 เดือน แต่มือยังหยิบสิ่งของไม่ได้ ถ้านับเวลาตั้งแต่เกิดเด็กทารกจะสามารถจับนิ้วของบุคคลที่จับมือได้ และในช่วงอายุนี้จึงควรที่จะหยิบสิ่งของได้ หากหยิบแล้วหล่นบ่อย ๆ ต้องพาไปปรึกษาแพทย์
  3. ช่วงอายุ 9 เดือน แต่ยังนั่งด้วยตัวเองไม่ได้ หากในช่วงอายุนี้ไม่สามารถนั่งเองได้ อาจส่งผลไปถึงการยืน และการเดิน ในกรณีนี้น่าจะเกี่ยวกับกล้ามเนื้อมัดใหญ่ที่ไม่แข็งแรง และต้องปรึกษาแพทย์เพื่อทำการแก้ไข
  4. ช่วงอายุ 10 เดือน แต่ยังยืนด้วยตัวเองไม่ได้ ในช่วงอายุนี้ควรจะยืนได้แล้ว ส่วนเรื่องการก้าวขาอาจไม่ใช่เรื่องแปลกถ้าจะช้า หรือเร็วไปกว่ากัน เพราะเด็กแต่ละคนก็อาจจะใช้เวลาเดินได้ไม่เท่ากัน
  5. ช่วงอายุ 18 เดือน แต่ยังเดินด้วยตัวเองไม่ได้ อันนี้ถือเป็นปัญหาที่หนักกว่าอย่างอื่น เพราะช่วงวัยนี้จะต้องทำได้ทั้งหมดจากที่ว่ามาแล้ว แต่ถ้าไม่สามารถทำอะไรได้เลย ต้องพาไปพบแพทย์โดยด่วน
พัฒนาการที่ผิดปกติของลูก

พัฒนาการปกติของเด็กแต่ละช่วงวัย

ช่วงวัย 1-3 เดือน

  • พัฒนาการทางร่างกาย สามารถกำมือ / แบมือ / หยิบจับสิ่งของได้แน่น
  • พัฒนาการทางสติปัญญา และภาษา สามารถสบตา และสังเกตลักษณะความแตกต่างได้
  • พัฒนาการด้านสังคม มีการยิ้มตอบ / โผเข้าหาบุคคลที่คุ้นเคย

ช่วงวัย 4 – 6 เดือน

  • พัฒนาการทางร่างกาย สามารถขยับแขนขา / ยกหัวขึ้นเอง / นั่งได้ด้วยตัวเอง
  • พัฒนาการทางสติปัญญา และภาษา สามารถแยกบุคคล / เริ่มหัวเราะเสียงดัง
  • พัฒนาการด้านสังคม เริ่มมีพฤติกรรมเลียนแบบ / จำหน้าบุคคลที่รู้จักได้

ช่วงวัย 7 – 9 เดือน

  • พัฒนาการทางร่างกาย เคลื่อนไหวได้มากขึ้น / ปีนป่ายเก้าอี้ / ปรบมือได้
  • พัฒนาการทางสติปัญญา และภาษา มองเมื่อได้ยินชื่อตัวเอง / เริ่มเปล่งเสียงพูดคำ
  • พัฒนาการด้านสังคม สามารถเล่นกับคนอื่น / แสดงความรู้สึกกับพ่อแม่

ช่วงวัย 10 – 12 เดือน

  • พัฒนาการทางร่างกาย สามารถเกาะขึ้นยืน / เริ่มเดินเตาะแตะ / เริ่มหยิบอาหารกินเอง
  • พัฒนาการทางสติปัญญา และภาษา พูดคำง่าย ๆ / เริ่มเลียนแบบการกระทำของผู้ใหญ่
  • พัฒนาการด้านสังคม แสดงความรู้สึกได้ / รู้จักเหตุ และผลของการกระทำ

ช่วงวัย 13 – 15 เดือน

  • พัฒนาการทางร่างกาย สามารถก้มหยิบสิ่งของ / ทำตามคำสั่งได้
  • พัฒนาการทางสติปัญญา และภาษา พูดคำต่าง ๆ ที่สื่อความหมาย / ชี้อวัยวะของร่างกายได้
  • พัฒนาการด้านสังคม สามารถแสดงท่าทางบอกความต้องการ / ทำกิจกรรมอื่น ๆ ได้

ช่วงวัย 16 – 18 เดือน

  • พัฒนาการทางร่างกาย เดินได้เอง / แต่งตัวเอง
  • พัฒนาการทางสติปัญญา และภาษา ปฏิเสธสิ่งที่ไม่ชอบ / พูดได้หลายคำ
  • พัฒนาการด้านสังคม แสดงความสนิทกับบุคคลที่คุ้นเคย / แบ่งปันสิ่งของ
แชร์บทความนี้
Scroll to Top