การดูแลตัวเองในแต่ละไตรมาสขณะตั้งครรภ์

การดูแลตัวเองในแต่ละไตรมาสขณะตั้งครรภ์

เมื่อไหร่ที่ผู้หญิงกำลังจะกลายเป็น คุณแม่ แน่นอนว่าทุกอย่างที่เคยทำอย่างเช่น การกินอาหารรสจัด, การปาร์ตี้แอลกอฮอล์ หรือการเดินทางที่แสนโลดโผน จะต้องถูกพับเก็บลงไปชั่วคราว เพราะการเปลี่ยนแปลงนี้มาจากเจ้าตัวเล็กที่กำลังจะลืมตามาดูโลก ซึ่งไม่น่าเชื่อเลยว่ามันจะสามารถปรับพฤติกรรมของคน ๆ หนึ่งได้ถึงขนาดนั้น และก็ไม่ใช่แค่การงดกิจกรรมต่าง ๆ เพียงอย่างเดียว แต่มันยังมีเรื่องของ

การดูแลตัวเองในแต่ละไตรมาสขณะตั้งครรภ์ เข้ามาเพิ่มอีก เพราะถ้าไม่สนใจอะไรแล้วปล่อยไปตามเวลา มันก็จะส่งผลเสียมากกว่าผลดีอย่างแน่นอน และทุกคนรู้ว่า คุณแม่ตั้งครรภ์ ต้องอุ้มท้องต่อไปอีก 9 เดือน ในแต่ละช่วงก็จะมีวิธีในการดูแลที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้น จึงควรมีความเข้าใจที่ถูกต้องก่อนเพื่อความปลอดภัยทั้งแม่และลูก

ร่างกายของ คุณแม่ตั้งครรภ์ ในแต่ละช่วงจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามระยะเวลา มันจึงส่งผลกระทบกับอารมณ์ โดยบางคนอาจมีความหงุดหงิด หรืออาการน้อยใจมากขึ้น ทั้งนี้เป็นเพราะฮอร์โมนไม่คงที่ จึงทำให้ความรู้สึกเปลี่ยนตามไปด้วย แต่ถ้าพ่อบ้านมีความรู้เรื่องตรงนี้ ก็สามารถนำไปปรับใช้เพื่อให้ คุณแม่ตั้งครรภ์ มีความสุขทั้งกายและใจได้ 

การดูแลตัวเองในแต่ละไตรมาสขณะตั้งครรภ์

ไตรมาสที่ 1: 1 – 3 เดือน เป็นระยะเริ่มต้นที่ คุณแม่ตั้งครรภ์ บางคนอาจยังสับสนแล้วไม่ค่อยเข้าใจสภาพร่างกายของตัวเองมากนัก ดังนั้น การดูแลในช่วงนี้เน้นไปที่การพักผ่อนให้ได้ 8 – 10 ชั่วโมง โดยการนอนตะแคงไปทางด้านซ้าย และควรออกกำลังกายเบา ๆ เช่น การเดินแกว่งแขน หรือการทำงานบ้านที่ไม่หนักมาก หากเกิด อาการแพ้ท้อง สามารถดื่ม น้ำขิง เพื่อบรรเทาอาการได้

ส่วนผิวหนังที่มีการขยายใหญ่ขึ้น อาจทำให้เกิดอาการคัน คุณแม่ตั้งครรภ์ ก็ควรหาครีมมาหาเพื่อบำรุง และลดรอยแตกของผิวหนัง ไม่ควรเกาด้วยความแรง เพราะจะทำให้เกิดแผลได้ แนะนำให้แช่เท้าในน้ำอุ่นบ่อย ๆ เพื่อลดการเกิดตะคริว และถ้ามีเลือดออกทางช่องคลอดควรรีบพบแพทย์ เพราะมีโอกาสสูงที่จะเจอ ภาวะแท้งคุกคาม และในช่วงนี้อาจจะได้รับ วัคซีนยากันบาดทะยัก แล้วแต่ดุลยพินิจของแพทย์

ไตรมาสที่ 2: 4 – 6 เดือน เป็นระยะกลาง ที่เน้นการพักผ่อนให้ได้ 8 – 10 ชั่วโมงเช่นเคย หรืออาจจะนอนพักผ่อนมากกว่านี้ก็สามารถทำได้ ในช่วงระยะนี้สามารถออกกำลังกายเบา ๆ ได้ แต่ต้องไม่ยืนนานเกินไปแล้วก็ไม่ควรยกของที่หนักเกินความจำเป็น และไม่ควรใส่รองเท้าส้นสูงเน้นใส่รองเท้าส้นเตี้ย เพื่อความปลอดภัยจะดีกว่าส่วน อาการแพ้ท้อง จะไม่ค่อยเกิดขึ้นแล้ว ดังนั้น จึงควรกินอาหารที่มีประโยชน์เยอะ ๆ

ไตรมาสที่ 3: 7 – 9 เดือน เป็นระยะสุดท้ายที่จะได้เห็นหน้าลูกน้อย ซึ่งเน้นไปที่การพักผ่อนให้ได้ 8 – 10 ชั่วโมงเหมือนเดิม แต่ด้วยท้องที่มีขนาดใหญ่ขึ้น แนะนำให้หาหมอนมาพยุงท้อง เพื่อการนอนหลับที่สนิทขึ้น ส่วนการออกกำลังกายให้เดินช้าลง และเน้นไปที่การลดอาการปวดส่วนต่าง ๆ เช่น ปวดหลัง หรือปวดเอว และควรฝึกการหายใจสำหรับการเตรียมคลอด ที่สำคัญอย่าลืมกินอาหารที่ช่วยสร้างน้ำนม เพราะเมื่อลูกเกิดมาแล้วจะได้มีน้ำนมกินทันที และเมื่อกินอาหารเสร็จควรนั่งพักประมาณ 1 ชั่วโมง เพื่อป้องกัน กรดไหลย้อน เวลานอน

เคล็ดลับระหว่างตั้งครรภ์

  1. การกินอาหาร ส่งผลต่อร่างกายแน่ ๆ ยิ่งถ้ากินอาหารที่มีประโยชน์เข้าไป ลูกในท้องก็จะได้รับสารอาหารที่เพียงพอ และมีร่างกายที่แข็งแรง ซึ่งก็ต้องเลือกกินให้ครบ 5 หมู่ด้วย
  2. คุมน้ำหนัก จะเป็นผลดีกับตัวของ คุณแม่ตั้งครรภ์ เพราะหากน้ำหนักมีมากเกินไป จะทำให้การเคลื่อนไหวเป็นไปได้ยาก และมันส่งผลไปถึงการคลอดด้วย
  3. รักษาความสะอาด ทั้งเรื่องของร่างกาย หรือเสื้อผ้าที่ต้องสะอาดเสมอ เพราะถ้าอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ดีก็จะส่งผลต่อสุขภาพจิต
  4. การออกกำลังกาย จะช่วยให้ร่างกายแข็งแรง แต่ต้องทำแบบพอดี ๆ ไม่หักโหมจนเกิดความอันตราย ซึ่งในปัจจุบันนี้ก็มีคอร์สออกกำลังกายสำหรับ คุณแม่ตั้งครรภ์ เช่น โยคะ หรือว่ายน้ำ
แชร์บทความนี้
Scroll to Top