วิธีหัดลูกเดิน และ เคล็ดลับช่วยลูกหัดเดิน เมื่อยามที่ลูกน้อยยังเป็นวัยทารกอยู่นั้น พ่อแม่อาจต้องลำบากอดตาหลับ ขับตานอนกันอยู่ชั่วระยะใหญ่ ๆ กว่าที่ลูกน้อยจะปรับตัวได้ก็ทำเอาพ่อแม่หมดแรงไปเลย และเมื่อถึงวัยที่กำลังจะก้าวไปอีกขั้นนั่นก็คือ การเดิน ที่ต้องบอกว่าพ่อแม่ต้องรับมืออย่างหนักกับตามไล่จับ เพราะถ้าเมื่อไหร่ที่เดินได้แล้วรับรองว่าไม่หยุดง่าย ๆ แต่สำหรับพ่อแม่บางคนก็อยากเห็นพัฒนาการของลูก ด้วยการหาอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ เพื่อให้ลูกหัดเกาะแล้วก็ขยับไปเรื่อย ๆ ซึ่งเด็กบางคนก็ทำได้ดี ในขณะที่บางคนไม่กล้าแม้แต่จะก้าวขา ดังนั้น เคล็ดลับช่วยลูกหัดเดิน ที่จะนำมาฝากในวันนี้น่าจะพอเป็นตัวช่วยให้แม่มือใหม่ได้

เวลาไหนที่บ่งบอกว่าถึงเวลาที่ลูกต้องหัดเดิน วิธีหัดลูกเดิน และ เคล็ดลับช่วยลูกหัดเดิน
คนเป็นพ่อแม่ส่วนใหญ่มักจะคอยลุ้นกับพัฒนาการของลูกเสมอ ไม่ว่าจะทำอะไรก็แล้วแต่ที่เป็นครั้งแรก โดยเฉพาะ การเดิน ที่เป็นสัญญาณบ่งบอกว่า พ่อแม่ต้องเตรียมตัวรับมือกับสถานการณ์นี้ต่อไป หากอิงจากข้อมูลทั่วไปจะพบว่าเด็ก ๆ มักจะเริ่มเดินในช่วงอายุตั้งแต่ 1 ปี – 1 ปีครึ่ง บวกลบไม่ห่างกันมาก แต่ถ้าเด็กคนไหนช้ากว่าที่ว่ามาให้ลองสังเกตไปสักระยะ ถ้าพบว่ามันนานเกินกว่าช่วงเวลานี้ก็ต้องลองไปปรึกษาหมอเด็ก เพื่อหาสาเหตุของการไม่ยอมเดิน

การเตรียมตัวเมื่อลูกจะเริ่มเดิน
ก่อนที่พ่อแม่จะเตรียมตัวอะไรต่าง ๆ ต้องมั่นใจแล้วว่าลูกเริ่มมีการเคลื่อนที่ได้เร็วขึ้น สามารถทรงตัวได้ และมีความพยายามในการลุก เมื่อนั้นพ่อแม่ถึงค่อยเตรียมสถานที่สำหรับขั้นตอนต่อไป
- จัดวางเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่มีความมั่นคงแข็งแรงอย่างพวกโต๊ะ หรือเก้าอี้ที่ไม่มีเหลี่ยมคมเพื่อความปลอดภัย เมื่อลูกสามารถเกาะเดินได้นานขึ้น ก็จะทำให้เกิดความสนุกในการเดินรอบ ๆ
- หัดให้เดินด้วยตัวเอง ไม่ใช่ว่าจับยืนแล้วปล่อยได้เลย เพราะขาเด็กยังไม่แข็งแรงขนาดนั้น แต่ว่าพ่อแม่จะต้องจูงมือลูกทั้งสองข้างแล้วอยู่ด้านหลัง เพื่อให้ลูกก้าวไปข้างหน้าแล้วก็เดินตามไปเรื่อย ๆ
- หาแรงจูงใจ ซึ่งแรงจูงใจในที่นี้อาจเป็นของเล่น, ตุ๊กตา หรือคนในครอบครัวที่ลูกจำได้ เพราะเมื่อลูกเห็นสิ่งที่ต้องการอยู่ตรงปลายทาง ก็จะเกิดความอยากเข้าไปหานั่นเอง
- เสียงเชียร์ เป็นสิ่งที่ไม่ว่าใครได้ยินก็จะต้องมีกำลังใจ โดยเฉพาะลูกที่กำลังหัดเดิน เมื่อได้ยินเสียงเชียร์ หรือเสียงปรบมือแล้ว ก็จะทำให้ลูกมีความพยายามจะไปให้ถึงจุดหมาย
- ปล่อยมือทีละข้าง เมื่อเห็นว่าลูกสามารถเดินได้ไกลขึ้น ให้เริ่มปล่อยมือทีละข้าง เพราะเมื่อไหร่ที่ลูกเดินเก่งแล้วก็จะไม่ให้พ่อแม่จับมืออีกต่อไป
- ฝึกเดินทุกวัน เพื่อที่ลูกจะได้ชิน และมีความมั่นใจในการเดินมากขึ้น ซึ่งอาจพาออกไปเดินใกล้ ๆ บ้าน เพื่อให้พบเจอกับเด็กคนอื่นแล้วมีความอยากเดินบ้าง
- เดินด้วยเท้าเปล่า เพราะว่าลูกจะได้รับความรู้สึกจากฝ่าเท้า แต่ถ้าออกไปข้างนอกก็ควรจะใส่รองเท้าป้องกัน ซึ่งการฝึกเดินควรเป็นพื้นที่เรียบ และต้องมั่นใจว่าบนพื้นไม่มีสิ่งที่เป็นอันตรายอย่างเศษแก้ว
- ใช้ตัวช่วยเสริม เช่น อุปกรณ์หัดเดิน ที่มีสิ่งดึงดูดใจมากมายทั้งเสียงดนตรี และการเคลื่อนที่ไปรอบ ๆ อย่างอิสระ ก็จะช่วยให้ลูกสามารถเดินได้เร็วขึ้น

ทั้งนี้การที่เด็กจะเดินเร็ว หรือเดินช้าไม่ใช่ปัญหาสำคัญ ถ้ายังอยู่ในช่วงเวลาของพัฒนาการ ก็ไม่มีอะไรที่น่าเป็นกังวล เพราะสิ่งสำคัญจริง ๆ อยู่ที่ปัจจัยรอบข้างไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ หรือสภาพแวดล้อม หากลูกไม่พร้อมเดินก็ไม่ควรฝืนบังคับว่าจะต้องรีบเดินให้ได้เหมือนเด็กคนอื่น เนื่องจากพัฒนาการของเด็กแต่ละคนไม่เท่ากัน เกิดไปฝืนมาก ๆ ก็อาจทำให้เด็กที่ยังไม่พร้อมเกิดความฝังใจ เพราะจำได้ว่าการล้มทำให้เจ็บก็เลยไม่กล้าที่จะลุกขึ้นอีก ดังนั้น ควรยึดเอาความพร้อมของเด็กเป็นหลัก เพื่อที่จะได้มีสุขภาพกาย และสุขภาพใจที่ดีต่อไป