โรคสมาธิสั้นในเด็ก

โรคสมาธิสั้นในเด็ก โรคที่ใกล้ตัวเด็ก มากกว่าที่คิด

โรคสมาธิสั้นในเด็ก ถือเป็นอีกโรคหนึ่งที่ผู้ปกครองควรสังเกตว่าบุตรหลานของท่าน มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคนี้ด้วยหรือเปล่า แม้ภาวะของการเป็นโรคนี้จะไม่ได้มีอาการเจ็บป่วยเหมือนโรคอื่น ๆ แต่ก็สามารถส่งผลต่อพัฒนาการของตัวเด็กได้เช่นกัน เพราะเด็กจะไม่สามารถเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้อย่างเต็มศักยภาพตามวัยของพวกเขา ซึ่งในบทความนี้ พวกเราจะทุกท่านไปรู้จักกับโรคสมาธิสั้น รวมไปถึงการสังเกตพฤติกรรมของบุตรหลานที่อยู่ในการปกครองของท่าน บวกกับแนวทางการจัดการเบื้องต้นด้วย 

โรคสมาธิสั้นในเด็ก คืออะไร 

โรคสมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder-ADHD) คือ กลุ่มอาการของการขาดสมาธิ เด็กจะมีความสามารถในการควบคุมตนเองได้ต่ำ มีความซุกซนมาก อยู่ไม่นิ่ง ซึ่งอาการเหล่านี้มักจะเกิดกับเด็กก่อนที่เด็กจะมีอายุครบ 7 ขวบ อาการของโรคสมาธิสั้นขอเด็กแต่ละคน จะมีความแตกต่างกัน แต่อาการหลักที่สังเกตได้ทั่วไปคือ เด็กจะควบคุมตัวเองได้ต่ำ บางรายก็มีปัญหาในเรื่องการขาดสมาธิอย่างหนัก อาการเหล่านี้สามารถพบได้จากเด็กทั่วโลก ซึ่งในประเทศไทยจะพบเด็กที่มีอาการของโรคสมาธิสั้นประมาณ 3-5% ในเด็กวัยเรียน 

โรคสมาธิสั้นในเด็ก

อาการของโรคสมาธิสั้นในเด็ก

อาการจะถูกแบ่งเป็น 2 ลักษณะใหญ่ ๆ ประกอบด้วย อาการขาดสมาธิ และ อาการซุกซน โดยมีข้อสังเกตดังนี้ 

อาการขาดสมาธิ

  • ไม่สามารถทำสิ่งที่พ่อแม่หรือครูสั่งได้จนสำเร็จ
  • ไม่มีสมาธิขณะทำงานหรือแม้แต่ขณะที่กำลังเล่น
  • เด็กจะแสดงอาการเหมือนไม่ค่อยฟัง เวลาที่เราพูดด้วย
  • ไม่เป็นระเบียบ
  • หลีกเลี่ยงสิ่งที่ต้องใช้ความคิดหรือสมาธิ 
  • ขี้ลืม
  • มักทำสิ่งของหรือของใช้ส่วนตัวหายบ่อย ๆ 

อาการซุกซน

  • ยุกยิก อยู่ไม่นิ่ง 
  • นั่งไม่ติดที่ ลุกบ่อย ไม่ว่าจะอยู่ที่บ้านหรือในห้องเรียน 
  • ชอบวิ่ง และชอบปีนป่ายสิ่งต่าง ๆ 
  • พูดมาก พูดไม่หยุด 
  • เล่นเสียงดัง 
  • ตื่นตัวตลอดเวลา รู้สึกตื่นเต้นง่าย 
  • ชอบพูดโพล่งขึ้นมา ในขณะที่พ่อแม่หรือครูยังถามไม่จบ 
  • ชอบขัดจังหวะหรือสอดแทรก ในขณะที่ผู้อื่นกำลังพูด

หากบุตรหลานของท่าน มีลักษณะของอาการขาดสมาธิ และอาการซุกซน รวมกันมากกว่า 6 อาการขึ้นไป ถือว่ามีความเป็นไปได้สูง ที่เด็กจะเป็นโรคสมาธิสั้น 

โรคสมาธิสั้นในเด็ก

สาเหตุของ โรคสมาธิสั้นในเด็ก

เกิดจากความผิดปกติของสารเคมีที่สำคัญบางตัวในสมองของเด็ก ซึ่งมีกรรมพันธุ์เป็นปัจจัยร่วมด้วย เรื่องของการเลี้ยงดูและสภาพแวดล้อมเป็นปัจจัยที่มีผลทำให้อาการของเด็กดีขึ้นหรือแย่ลง มีการสำรวจและวิจัยออกมาแล้วว่า คุณแม่ที่ไม่ค่อยดูแลตัวเองในขณะตั้งครรภ์ เช่น ดื่มสุรา สูบบุหรี่ หรือได้รับสารพิษบางชนิดจำพวก ตะกั่ว จะทำให้ลูกมีโอกาสเป็นโรคสมาธิสั้นสูงขึ้น 30-40% 

วิธีรับมือกับโรคสมาธิสั้นในเด็ก 

แม้ว่าโรคสมาธิสั้นในเด็ก จะมีโอกาสหายเอง 20-30% เมื่อเด็กเข้าสู่วัยรุ่น แต่โดยส่วนใหญ่ เด็กที่มีอาการสมาธิสั้นจะยังคงมีความบกพร่องทางสมาธิอยู่ ซึ่งจะส่งผลต่อการศึกษาและการทำงานเมื่อพวกเขาโตขึ้น เป็นเหตุผลที่เด็กควรได้รับการเข้ารักษาอย่างต่อเนื่อง 

การให้ความรู้และความเข้าใจในเรื่องอาการของโรคให้กับพ่อแม่และคุณครู จึงเป็นสิ่งจำเป็นมากที่สุด เพราะบุตรหลานของท่านในช่วงอายุนี้ จะได้อยู่ใกล้ชิดกับพ่อแม่และคุณครูเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจะช่วยส่งผลให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเด็กได้ ทั้งในแง่ของการใช้ชีวิตและจิตใจของตัวเด็กด้วย การรักษาด้วยยาก็เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่ใช้ได้เช่นกัน ผู้ปกครองควรนำบุตรหลานของท่านไปพบกับแพทย์เฉพาะทาง จะได้ทราบถึงแนวทางการช่วยเหลือเด็กอย่างดีที่สุด  

แชร์บทความนี้
Scroll to Top