ไขข้อข้องใจเรื่องการกินยาระหว่างตั้งครรภ์

ไขข้อข้องใจเรื่องการกินยาระหว่างตั้งครรภ์

การเจ็บไข้ได้ป่วยเป็นเรื่องปกติของมนุษย์ ไม่ได้จำกัดว่าต้องเป็นเพศไหน หรือว่าวัยไหน ส่วนการแสดงของอาการก็แล้วแต่โรค หากมีอาการแบบเบา ๆ เช่น ปวดหัวเล็กน้อยก็ให้กิน ยาพาราเซตามอล แต่ถ้าปวดมากจนไม่ไหวควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุในการรักษาต่อไป ถ้าอาการเหล่านี้เกิดในคนทั่วไป ถือว่าเป็นอาการที่ไม่รุนแรงสามารถหายากินเองได้ แต่ถ้าเกิดใน คุณแม่ตั้งครรภ์ เรื่องราวจะเปลี่ยนไปในอีกทางหนึ่ง เพราะการตัดสินใจกินยาเอง อาจทำให้เกิดอันตรายกับลูกในท้องได้ และ คุณแม่ หลายคนก็ยังไม่เคยมีประสบการณ์ในด้านนี้มาก่อน เราจะมา ไขข้อข้องใจเรื่องการกินยาระหว่างตั้งครรภ์ กันว่าในทางปฏิบัติสามารถทำได้หรือไม่

ไขข้อข้องใจเรื่องการกินยาระหว่างตั้งครรภ์

สรรพคุณของยาพาราเซตามอล

          แค่เอ่ยชื่อ ยาพาราเซตามอล ทุกคนน่าจะรู้จัก และเคยฝากให้มันสลายความเจ็บปวดให้มาแล้ว ส่วนใหญ่ก็มักจะมีติดบ้านกันไว้ โดย สรรพคุณของยาพาราเซตามอล ทำหน้าที่ บรรเทาอาการปวด / ลดไข้ ซึ่งก็ใช้ได้ผลดี และเป็นยาชนิดเดียวที่มีความปลอดภัยต่อ คุณแม่ตั้งครรภ์ แต่ไม่แนะนำให้กินในช่วงไตรมาสแรก (0 – 3 เดือน) เพราะจะไม่เป็นผลดีกับทารกที่กำลังสร้างอวัยวะต่าง ๆ

คุณแม่ตั้งครรภ์กินยาพาราเซตามอลได้ไหม ?

          คุณแม่ตั้งครรภ์กินยาพาราเซตามอลได้ไหม ? สำหรับคำถามนี้น่าจะช่วยให้หลายคนคลายกังวลได้เพราะสามารถกินบรรเทาอาการปวดได้ปกติ แต่ต้องกินยาตามน้ำหนักตัว โดยปริมาณของ ยาพาราเซตามอล จะมีอยู่ 10 – 15 มิลลิกรัม / น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หาก คุณแม่ตั้งครรภ์ มีน้ำหนัก 50 กิโลกรัมให้กิน 1 เม็ด แต่ถ้ามีน้ำหนักเกินกว่านี้สามารถกิน 1 เม็ด ครึ่ง หรือ 2 เม็ด ทุก 4 – 6 ชั่วโมง และไม่ควรเกินกิน 8 เม็ด / วัน  

ความเสี่ยงของการกินยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์

          ความกังวลเกิดขึ้นได้กับ คุณแม่ตั้งครรภ์ โดยเฉพาะ ความเสี่ยงของการกินยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์ เพราะมันส่งผลหลายอย่างทั้งสภาพร่างกาย และลูกในท้อง ไม่ว่าจะเป็นการแท้ง หรือการที่จะคลอดก่อนกำหนด ถึงแม้ว่าจะคิดว่าเป็นยาปลอดภัยที่ก็ไม่ควรด่วนตัดสินใจเอง เพราะหากลูกในท้องเกิดอันตรายจะเสียใจภายหลัง

ประเภทของยาที่ควรหลีกเลี่ยง

          นอกจาก ยาพาราเซตามอล ที่สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดได้แล้ว คุณแม่ตั้งครรภ์ ก็ยังต้องระวังในเรื่องของ ประเภทของยาที่ควรหลีกเลี่ยง ซึ่งมันเป็นยาประเภท ไอบูโพรเฟน ยกเว้นแต่เป็นการใช้ยาที่มาจากคำสั่งแพทย์เท่านั้นจึงจะใช้ได้ เพราะถ้านำมาใช้เอง คุณแม่ตั้งครรภ์ จะต้องรับผลกระทบจากความเสี่ยงที่เกิดขึ้น

 ปวดหัวไมเกรนทำอย่างไร ?

          หากใครที่เคย ปวดหัวไมเกรน จะรู้ดีว่าระดับความรุนแรงของมัน มากกว่าการปวดหัวธรรมดาที่กินยา นอนพักแล้วก็จะหายไปเอง ซึ่งจะต้องใช้ยาเฉพาะกลุ่มที่ใช้ได้กับคนทั่วไป แต่สำหรับ คุณแม่ตั้งครรภ์ หากใช้ยานี้มากเกินไปอาจเกิดอันตรายได้ เพราะตัวยาจะขวางการไหลเวียน และลำเลียงเลือดไปสู่ทารก แถมยังจะทำให้อวัยวะต่าง ๆ เช่น ลำไส้, สมอง, ประสาทไขสันหลังผิดปกติ และ คุณแม่ตั้งครรภ์ ควรแจ้งอาการตั้งแต่ครั้งแรกที่ฝากครรภ์ เพื่อให้แพทย์จ่ายยาที่เหมาะสมหากเกิดอาการ

การป้องกันการเกิดไมเกรน

          ปฏิเสธไม่ได้ว่าการใช้ชีวิตของเราไม่ได้สมบูรณ์แบบ เนื่องด้วยเวลากับหน้าที่จนอาจทำให้เกิดการละเลย หากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ก็จะช่วย ป้องกันการเกิดไมเกรน ได้ด้วยหลักการง่าย ๆ 6 ข้อ คือ

          1. อาหาร ควรกินอาหารให้ครบทุกมื้อ และต้องมีสารอาหารอย่างเพียงพอ ไม่ควรงดมื้อกินมื้อ

          2. พักผ่อน เป็นสิ่งที่ คุณแม่ตั้งครรภ์ ควรทำมากที่สุด ถึงแม้จะนอนหลับไม่สนิทก็ต้องพยายาม

          3. ดื่มน้ำ บ่อย ๆเพื่อป้องกันการขาดน้ำ จะช่วยป้องกันการเกิดอาการได้

          4. งดเครื่องดื่มคาเฟอีน เช่น ชา / กาแฟ เพราะหากดื่มมากจะทำให้ปวดหัว

          5. ผ่อนคลาย ด้วยการหากิจกรรมที่สบายใจทำ จะได้ไม่เกิดความวิตกกังวล

          6. พบแพทย์ ในกรณีที่อาการปวดไม่ทุเลาลง เพื่อเข้ารับการรักษา และรับยาที่เหมาะสม

แชร์บทความนี้
Scroll to Top