โรคเบาหวานคนท้อง ปกติแล้วการเป็น โรคเบาหวาน ก็จะต้องมีการควบคุมน้ำตาล ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม แล้วก็จะต้องมีการควบคุมอาหารให้ อยู่ในเกณฑ์ ซึ่งการปรับพฤติกรรม ในการใช้ชีวิตแบบนี้ ก็นับว่าเป็นเรื่องยาก สำหรับคนที่ไม่ค่อยได้รักษาสุขภาพ โดยเฉพาะคนท้องที่มีภาวะนี้ ก็จะต้องให้ความใส่ใจมากกว่า ผู้ป่วยทั่วไปเป็นพิเศษ เพราะยังมีอีกหนึ่งชีวิตในท้อง ที่ต้องดูแล หากปล่อยปละละเลย ก็อาจส่งผลเสียได้มากกว่าคนปกติ และ เราก็จะมาพูดคุยกันเกี่ยวกับ โรคเบาหวาน นี้ พร้อมทั้งบอกข้อมูลต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ใน การรักษาเบาหวานขณะตั้งครรภ์
โรคเบาหวานคนท้อง เกิดได้อย่างไร
โดย โรคเบาหวาน มักจะพบได้ในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์มากกว่าผู้ชาย โดยสาเหตุหลัก ก็อาจมาจากพฤติกรรมในการใช้ชีวิต เช่น การกินแต่อาหารที่มีโภชนาการไม่ถูกต้อง มีรสหวาน มีน้ำตาลเป็นส่วนผสม หรือ การทานหวานมากเกินไปการไม่ออกกำลังกาย รวมไปถึงการดื่มแอลกอฮอล์ และ การสูบบุหรี่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคได้ นอกจากนี้ในผู้หญิงที่ตั้งท้องก็สามารถตรวจพบ โรคเบาหวาน ได้ทั้งในระหว่างตั้งท้อง และ มันก็อาจส่งผลไปถึงลูกในท้องด้วย ซึ่งผลกระทบในผู้หญิงที่เป็นโรคนี้ อาจทำให้เกิดภาวะการมีบุตรยาก แต่ถ้าหากตั้งท้องแล้วก็อาจเจอปัญหาความพิการ หรือ การเสียชีวิตได้ทั้งแม่และลูก นอกจากนี้อาจเจอกับภัยคุกคามระหว่างตั้งท้อง เช่น ความดันโลหิตสูง ดังนั้น ใครก็ตามที่ต้องการมีลูกก็จะต้องมีการวางแผนไว้ล่วงหน้า หรือ ปรึกษาแพทย์เพื่อหาทางป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น

ปัจจัยที่อาจก่อให้เกิด โรคเบาหวานคนท้อง ในอนาคตของผู้หญิงตั้งท้อง
การเป็น โรคเบาหวาน ในขณะตั้งท้อง ใช่ว่าจะเป็นแค่ในระยะสั้น ๆ แล้วหายไปได้ในช่วงระยะเวลานั้น ๆ เพราะในบางรายอาจมีความต่อเนื่องของ โรคเบาหวาน ไปในอนาคต แม้ว่าจะมีการคลอดลูกแล้วก็ตาม โรคเบาหวาน นี้ก็อาจจะติดตัวได้ โดยปัจจัยของการเกิดโรคอาจไม่ได้มีแค่เรื่องสุขภาพเพียงอย่างเดียว แต่อาจจะมีเรื่องของพันธุกรรม หรือ ปัจจัยอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น
- คนในครอบครัวเคยมีประวัติเป็น โรคเบาหวาน
- เป็นโรคอ้วนตั้งแต่ก่อนตั้งท้อง
- มีประวัติเป็น โรคเบาหวาน ระหว่างตั้งท้อง
- ระดับน้ำตาลในเลือดสูง (วัดในช่วงก่อนกินอาหารเช้า)
- ระดับคลอเลสเตอรอลในเลือดสูง
- ผู้หญิงตั้งท้องอายุมากกว่า 35 ปี ขึ้นไป
อาการโรคเบาหวานขณะตั้งท้อง
สำหรับคนที่เป็น โรคเบาหวานขณะตั้งท้อง ก็จะมีอาการเหมือน โรคเบาหวาน ปกติทุกอย่าง เช่น มีความหิวบ่อย กินเยอะกว่าปกติ กระหายน้ำ เข้าห้องน้ำบ่อย ๆ รู้สึกอ่อนเพลีย เมื่อ ไปโรงพยาบาลแพทย์ ก็จะทำการ ตรวจน้ำตาลในปัสสาวะตามขั้นตอน หากพบว่าค่าใดค่าหนึ่งสูงกว่าปกติก็แปลว่าเป็น เบาหวานขณะตั้งท้อง ซึ่งแม่จะต้องทำการควบคุมน้ำตาลให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม เพราะไม่อย่างนั้นก็จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน และ ต้องรักษาโรคอื่นควบคู่กันไปอีก

การปฏิบัติตัวสำหรับผู้เป็น โรคเบาหวานคนท้อง
- ปฏิบัติตามคำแนะนำของ แพทย์อย่างเคร่งครัด
- ควบคุมอาหารให้เหมาะสม เช่น ลดแป้ง น้ำตาล และ กินข้าวซ้อมมือ แทนข้าวขาว
- กินอาหารที่มีโปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ไขมันต่ำ ไม่ติดหนัง
- กินผักที่มีกากใยสูง
- ดื่มนมสดชนิดจืด หรือ ชนิดพร่องมันเนย
- งดขนมหวาน หรือ ผลไม้รสหวานจัด
- งดอาหารที่มีโซเดียมสูง เช่น ขนมขบเคี้ยว
- งดของทอด หากอยากกินให้ใช้น้ำมันรำข้าว น้ำมันมะกอก หรือ น้ำมันดอกทานตะวัน แทนน้ำมันทั่วไป
- ออกกำลังกายเบา ๆ เช่น การว่ายน้ำ แต่ถ้าหากได้รับคำแนะนำ จากแพทย์ อาจออกกำลังอย่างอื่นรวมด้วยได้ – ไปตามแพทย์นัดสม่ำเสมอ เพื่อ ประเมินสุขภาพ เผื่อจะต้องมีการปรับการรักษาให้เหมาะสม กับอาการที่กำลังเป็นอยู๋
ยารักษา โรคเบาหวาน จะเป็นแบบฉีด หากเกิดความผิดปกติ เช่น รู้สึกอ่อนเพลีย น้ำหนักตัวขึ้นเยอะกว่าปกติ ลูกไม่ค่อยดิ้น จะต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาทันที ดังนั้น หากเป็น โรคเบาหวานระหว่างตั้งท้อง ก็ควรปฏิบัติตามคำแนะนำข้างต้น และ หลังจากที่คลอดแล้วก็เป็นไปได้ว่า โรคเบาหวาน อาจจะหายไปได้ แต่ถ้าหากมีการตั้งท้องอีกในครั้งต่อไป โรคนี้ก็สามารถกลับมาได้ เช่นกัน เพราะฉะนั้นหลังจากที่คลอดลูกไปแล้ว 6 สัปดาห์ ก็จะต้องกลับไปตรวจระดับน้ำตาล เพื่อดูว่ามีโอกาส ที่จะกลับมาเป็น หรือ ไม่เป็น และ หากเป็นไปได้ แนะนำให้ลดความเสี่ยง ของการเกิดโรคเบาหวาน ทุกพฤติกรรมที่มีความเสี่ยง ด้วยการ ตัดพฤติกรรมที่ไม่ดีออกไป เพื่อผลที่ดีต่อร่างกายในอนาคต
ดูเนื้อหาอื่นเพิ่มเติม : แม่และเด็ก
ขอบคุณข้อมูล : วิกิพีเดีย