วิธีลดไข้ทารกแรกเกิด ทำยังไงให้ไขลดเร็วที่สุด ก่อนลูกจะชัก เสี่ยงช็อค เมื่อทารกป่วย เป็นไข้ ซึ้งมันเป็นเรื่องที่เกิดได้ทุกเมื่อ ซึ้งแม่ ๆ จะต้องรู้หลักและวิธีการลดไข้ให้ลูกน้อยเบื้องต้น เพื่อบรรเทาอาการไม่ให้เป็นหนัก ก่อนที่จะถึงมือหมอ เราเลยนำวิธีการดูแลทารกเมื่อป่าวเป็นไข้ แบบเจาะลึกมาให้แม่ ๆ ได้ศึกษา เพื่อเป็นความรู้ไว้ดูแลลูกน้อยที่เรารักกันคะ

วิธีลดไข้ทารกแรกเกิด ให้หายเร็วขึ้น
- การเช็ดตัวลูกน้อยเพื่อให้อุ่นภูมิร่างกายลดลง ซึ่งเป็นวิธีลดไข้ที่สามารถทำได้เลยไม่ต้องรอ เมื่อสัมผัสทารกแล้วมีตัวร้อน ให้รีบจับถอดเสื่อผ้า ปิดแอร์ ปิดพัดลม แล้วเช็ดตัวย้อนรูขุมขนได้เลย โดยน้ำที่ใช้เช็ดทารกนั้น ให้เป็นน้ำอุ่น อย่าใช้น้ำเย็น เพราะจะทำให้ทารกมีอาการหนาวสั่น และอาการจะทวีคูณขึ้น
- การทานยาลดไข้ เป็นอีกวิธีที่แม่ ๆ เลือกใช้ในการบรรเทาอาการของทารกได้ แต่อาจจะต้องเลือกยาลดไข้ที่เหมาะสมกับลูกน้อย และ เพื่อให้การักษาได้ประสิทธิภาพ หากทานยาแล้วไข้ไม่ลดลงให้รีบพาไปหาหมอ
- การสวมใส่เสื้อผ้า เมื่อทารกมีอาการป่วยเป็นไข้ อย่าใส่เสื้อผ้าที่รัดจนมากเกินไปทำให้ลูกอึดอัด หรือ ใส่เสื้อผ้าที่บางเกินไปทำให้ผิวหนังสัมผัสอากาศภายนอก รอบๆ ตัวได้ง่าย ซึ่งอาจจะทำให้ทารก มีอุณหภูมิ สูงขึ้นไปอีก ให้เลือกเสื้อผ้าที่ไม่บาง ไม่หนาเกินไป สวมใส่ได้ง่ายและรวดเร็ว
- การจัดสภาพแวดล้อม สถานที่ ที่ใช้เลี้ยงทารก ให้มีความเหมาะสม ก็เป็นวิธีการลดไข้อีกอย่าง คุณแม่จะต้องปรับอุณหภูมิห้อง และ แสงสว่างในห้องให้เหมาะสม
- การให้ทารกดื่นนมที่มากเพิ่มขึ้น เพื่อเป็นการแทนที่น้ำในร่างกาย เมื่ออุณภูมิร่างกายสูงขึ้น ย่อมมีการขับอุณหภูมิเหล่านั้นออกมาเป็นเหงื่อ คุณแม่จึงต้องเติมน้ำให้กับร่างกายของทารก ที่เสียไป

อุณหภูมิของลูกที่มีไข้ สูงแค่ไหน ที่ควรระวัง
เมื่อแม่ ๆ รู้แล้วว่าจะต้อง ลดไข้ทารกด้วยวิธีไหนบ้าง การสังเกตอาการทารก ก็สำคัญเช่นกัน อุณหภูมิร่างกายเท่าไหร่ ที่อันตรายและเสี่ยงต่อการชักของทารก โดยไข้สูงในเด็กนั้น จะมีอุณภูมิมากกว่า 38.5 องศาเซลเซียสซึ่งเป็นจุดที่ต้องระวัง

อาการเสี่ยงช็อก ที่ต้องรีบไปหาหมอ
ร่างกายของทารก มีความแตกต่างจากร่างกายของเด็กโต หรือ ผู้ใหญ่ค่อนข้างมาก เนื่องจากทารกมีความบอบบาง ภูมิคุ้มกันต่าง ๆ ก็ยังทำงานไม่เต็มที่ ร่างกายยังต้องมีการพัฒนาอีกมาก เลยทำให้ถ้าเกิดอาการป่วยขึ้นมาก็จะต้องระวังมากเป็นพิเศษ ดังนั้น การสังเกตอาการลูกเป็นสิ่งสำคัญมาก มีอะไรบ้าง เรามาดูกัน
- ลูกน้อยมีอาการชักเกร็งที่เกิดขึ้นขณะเป็นไข้รวมด้วย
- มีอาการอาเจียน หรือ อุจจาระ
- มีริมฝีปากเขียวคล้ำ มีหน้าผากที่ร้อน (มีอณหภูมที่สูง) แต่มีมือเท้าที่เย็นจัด
- ลูกน้อยมีอาการร้องไห้ติดต่อกันเป็นเวลานาน จนผิดปกติ
- ลูกน้อยน้ำลายฟูมปาก ซึ่งนับว่าเป็นอันตรายมาก สำหรับทารก
จากข้อมูลข้างต้นแล้ว คุณแม่คุณพ่อ พอจะเตรียมรับมือกับอาการป่วย ของทารกได้บ้างแล้วใช่ไหมคะ ทั้งเทคนิคและเคล็ดลับที่เราให้ไว คงเป็นประโยชน์ได้มาก